๑๑.ศิลปตะวันตกยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์
ถึงสงครามโลกครั้งที่๑
ถึงสงครามโลกครั้งที่๑
Fauvism
Expressionism
Cubism
Abstractionism
Futurism
ศิลปะลัทธิโฟวิสม์
Fauvism
Les
Fauves = “สัตว์ป่า “
หมายถึง ลัทธิสัตว์ป่า
·
เมื่อเปรียบกับรูปแบบศิลปะสมัยเรอแนสซองส์ซึ่งงามตามหลักสุนทรียภาพเดิม
ขณะที่ผลงานของกลุ่มศิลปินศิลปะลัทธิโฟวิสม์กลับให้สีสันโฉ่งฉ่าง
·
แสดงถึงความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างเห็นได้ชัด
·
ศิลปินลัทธิโฟวิสม์
มาทีสส์ (Matisse, Henri 1869-1954)
บุตรพ่อค้าฐานะดี
ต้องการให้ลูกเป็นทนายความ
·
เป็นทนายไม่นาน
·
อายุ 22
ปี
เรียนศิลปะฆ่าเวลา/ เบื่อหน่ายตอนป่วย
·
จากนั้นก็เข้าสู่วงการอย่างจริงจัง
·
ผลงานช่วงแรกของมาทิสส์เป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์
·
งานสำคัญคือ
ภาพ “ภาพเปลือยกับลวดลายเบื้องหลัง” “ ห้องสีแดง”
·
มาทีสส์สร้างงานที่ไม่เน้นรายละเอียดแบบโฟวิสม์ผ่านงานประติมากรรมด้วยและเป็นที่ยอมรับทั่วไป
·
ส่งผลต่อวงการประติมากรรมสมัยใหม่เป็นอย่างมาก
มาดามมาทิสส์ โดย มาทิสส์, ๑๙๐๕
Henri Matiss.
Odalisque (ผู้ช่วยชายาของสุลต่านในตุรกี)with a Tambourine.
Nice, place Charles-Félix, winter 1925-26
ประติมากรรมชุด,
ข้างหลังผู้หญิง., มาทิสส์, ๑๙๐๙-๒๙
ศิลปะลัทธิเอ็กเพรสชันนิสม์
Expressionism Art
·
ภาษาละติน “Expressare”
·
Ex มีความหมายว่า “ออกมา”
·
pressare มีความหมายเท่ากับกด
ดัน คั้น บีบ
·
หมายถึง การแสดงออกทางศิลปะ
ที่ตัดทอนรูปทรงและสีสันอย่างเสรีที่สุด ตามแรงปรารถนา
· แรงปรารถนา = ความรู้สึกและอารมณ์ของศิลปิน
การแพร่หลายของลัทธิเอกเพรสชันนิสม์
ครอบคลุมวรรณกรรม ดนตรี
ศิลปะการแสดงปลายC.19 และต้นC.20 (สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เว
เบลเยียม เยอรมนี)
ศิลปินสำคัญ
ได้แก่ มาทีสส์ (Henri Matisse), เบคมานน์(
Max
Beckmann),รูโอลท์
( Georges
Rouault),Gen Paul, มาร์ค(Franz Marc), แคนดินสกี(Wassily
Kandinsky) โนลเด(Emil Nolde)
ความเคลื่อนไหวของศิลปะเอกเพรสชันนิสม์ที่สำคัญมี 2 กลุ่ม คือ
๑.ศิลปินกลุ่มสะพาน
(The Bridge)
๒.กลุ่มม้าสีน้ำเงิน(The Blue Rider)
กลุ่มสะพาน
·
การรวมตัวกันของศิลปินวัยหนุ่มอายุ 20 – 30 ปี
·
สะท้อนความสับสน
ความอัปลักษณ์ของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และศาสนา ความสกปรกของสังคม ความเหลวแหลกโสมม หลอกลวง
·
ใช้สีที่รุนแรง
·
สลายตัวค.ศ.๑๙๑๓ จากปัญหาวิกฤตสังคมและสงครามโลกครั้งที่๑
แนวทางการสร้างสรรค์งาน
·
กลุ่มสะพานสะท้อนเรื่องราวทางศาสนาด้วยความรู้สึกโหดร้ายน่าขยะแขยงน่าเกลียด
แสดงความรัก กามารมณ์และความตาย
·
เตือนให้สังคมตระหนักในความไม่แน่นอน
ประการสำคัญภาพส่วนใหญ่เน้นแสดงออกทางจิตวิทยา มากกว่าความจริง
กลุ่มม้าสีน้ำเงิน เริ่มเคลื่อนไหว ค.ศ.๑๙๑๑ ที่มิวนิค
แกนนำ
คือ วาสิลี แคนดินสกี(๑๘๖๖-๑๙๔๔) กับฟรอนซ์ มาร์ค(๑๘๘๐-๑๙๔๔) ศิลปินต่างชาติที่เข้าร่วม
ชาวรัสเซียน สวิส อเมริกัน ฯลฯ
ชื่อลัทธิมาจากความนิยมในการเขียนรูปม้าและคนขี่ม้าของแกนนำทั้งสองโดยใช้สีน้ำเงินเป็นหลัก
การเขียนงานของกลุ่มสะพานและกลุ่มม้าสีน้ำเงิน
แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
-กลุ่มม้าสีน้ำเงิน ผ่อนคลายการกระแทกความรู้สึกของผู้ชมจากความรู้สึกน่าขยะแขยง ผันเป็นการแสดงออกทางอารมณ์
แบบรุนแรงที่แฝงความสนุกสนาน โดยใช้สี
เส้นและการแสดงลีลาคล้ายเสียงดนตรี
--ได้รับอิทธิพลของโกแกงมากกว่าแวนโก๊ะ
สลายตัว ๑๙๑๔ เพราะ WW.I
Emil Nolde (1909) - Pfingsten (วันที่7หลังเทศกาลอีสเตอร์
ศิลปินลัทธิเอ็กเพรสชันนิสม์
เอ็ดวาร์ด มูงค์ (Edvard Munch , ค.ศ.1863
– 1944)
·
ผู้นำและผู้ให้อิทธิพลแก่ศิลปินกลุ่มเอ็กเพรสชันนิสม์
เกิดวันที่ 12 ธันวาคม 1863
ทางภาคใต้ของนอรเวย์
·
เป็นเด็กขี้โรค
เจ็บออด ๆ แอด ๆ ตลอด
·
เรื่องราวของความเจ็บป่วย
และความตายปรากฏอย่างมากอยู่ในผลงานของเขา
ผลงานที่มีชื่อเสียงของมูงค์คือ
ภาพ “เสียงร้องไห้” หรือ The Cry ซึ่งเขียนในปี ค.ศ.1893
·
เขาสามารถผสานอารมณ์ของเส้น
และสีที่ปรากฏในผืนภาพให้กระตุ้นและชักนำอารมณ์ของคนชราได้เช่นเดียวกับเขา
·
ภาพ “เด็กป่วย” หรือ The
Sick Child นำอารมณ์อันเกิดจากความโศกเศร้าที่สูญเสียน้องสาว
ซึ่งล้มป่วย และเสียชีวิตด้วยวัณโรค
เสียงร้องไห้, มูงส์,
๑๘๙๓
"Hitler, Creator of the
Third Reich and
Renewer of German
Art" by Heinrich Knirr
!937 Julius Paul Junghanns:
Third Reich and
Renewer of German
Art" by Heinrich Knirr
!937 Julius Paul Junghanns:
Rest under the willow trees, 1938
Cubism Art
ลัทธิคิวบิสม์เชื่อว่านอกจากจะต้องไม่แสดงเชิงการถ่ายทอดตามความจริงที่ตาเห็นแล้วยังต้องกลั่นกรอง
วิเคราะห์และสังเคราะห์รูปทรงเหลือเพียงแก่นแท้ที่มั่นคงแข็งแรง
·
ลัทธิคิวบิสม์ได้แนวคิด
และอิทธิพลการถ่ายทอดสิ่งแวดล้อมผ่านการสร้างเป็นรูปทรงที่เรียบง่ายจากผลงานของเซซานน์
โดยแทนค่ารูปทรงด้วยแสงสีอันระยิบระยับ ให้บรรยากาศตามช่วงเวลาเท่านั้น
·
รูปทรงในผลงานของเซซานน์
กลายเป็นรากแก้วของลัทธิคิวบิสม์ในระยะต่อมา
·
นักประวัติศาสตร์ศิลป์และนักวิจารณ์ศิลปะบางคนเรียกผลงานคิวบิสม์ระยะแรกว่า
“ศิลปะแบบเซซานน์” หรือ “Cezannesque”
·
แนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะลัทธิคิวบิสม์
·
1.ตัดทอน
ย่อส่วน เพิ่มเติม และตกแต่งรูปทรงของวัตถุ ถือหลักการเพิ่มของส่วนประกอบ
เพื่อให้ผลงานสมบูรณ์
·
2.คำนึงถึงรูปทรงเปิดและปิด
โดยพิจารณาความสัมพันธ์ของพื้นที่ว่างในส่วนรูปทรงและพื้นผิว
·
3.คำนึงถึงความตื้นลึกด้วยรูปทรง
ขนาด การทับซ้อนกัน การบังคับและการทำให้โปร่งใสคล้ายภาพเอ็กซเรย์
·
4.เปิดโอกาสให้ผู้ดูมีเสรีภาพในการใช้ปัญญาพินิจพิจารณาด้วยตนเอง
ถือว่าศิลปะเป็นสิ่งที่ผู้ดูสามารถชื่นชมด้วยตนเอง
·
5.คำนึงถึงความกลมกลืนของทัศนธาตุ(เส้น สี
แสงเงา รูปร่าง ลักษณะผิว) เมื่อประกอบกันเป็นเรื่องราวที่รู้จักเป็นอย่างดี
รูปทรงที่เด่นได้แก่รูปทรงที่เกิดจาก เส้นเว้า เส้นตรงผสานกันอย่างเหมาะสม
·
6.คำนึงถึงส่วนย่อยและส่วนรวมพร้อมกัน
เพื่อให้เกิดความกลมกลืนพอ ๆ กับคำนึงถึงลักษณะผิวหน้าของวัสดุแต่ละชนิด
·
7.นำเอาวัสดุจริงมาปะติดกัน
เพื่อให้เกิดความรู้สึกสัมผัส จนเกิดเป็นวิธีการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า
Collage(ศิลปะตัดแปะ)
หรือ The art assemblage
·
ศิลปินลัทธิบิสม์
·
ปาโบล
ปิคัสโซ (Pablo Picasso , ค.ศ.1881 – 1973) เกิดที่สเปน
ในค.ศ.1881 บิดาเป็นจิตรกร
·
ศึกษาศิลปะครั้งแรกที่เมืองบาร์เซโลนาและเดินทางไปอยู่กรุงปารีส
ค.ศ.1900
·
อยู่ที่ฝรั่งเศสจนตายในปี
ค.ศ.1973
·
ปิคัสโซเป็นศิลปินหัวก้าวหน้า
พัฒนาผลงานอย่างไม่หยุดยั้ง เริ่มจากการทำงานตามแบบแผนที่มีโครงสร้าง
โดยใช้สีวรรณะเย็นดูเศร้าหมองแบบยุคม้าสีน้ำเงิน สะท้อนชีวิตที่ยากลำบากของเขา
·
ในปี ค.ศ.1905 ปิคัสโซพัฒนาผลงานสู่การใช้สีที่สดใสร้อนแรง
·
ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดชิ้นหนึ่งของปิคัสโซคือ
ภาพ “เกอนีแคQuernica”
(ค.ศ.1937) เพื่อแสดงการสนับสนุนรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐของ
สเปน
ปิคัสโซ
PICASSO, "Guernica"สมบัติส่วนตัวของปิคัสโซ, 1937
Five Ladies
"La
Vie" by Pablo Picasso
274 x 417
274 x 417
จอร์จ บราค
·
เกิดที่เมืองเลออาฟร์
ใกล้กรุงปารีส เรียนศิลปะเมื่อายุ 17 ปี โดยมุ่งจะเป็นมัณฑนากร
·
เมื่อพบกับดูฟี(Doufi)และฟิทซ์(Fitz)ศิลปินลัทธิโฟวิสม์ จึงหันเหสู่การสร้างสรรค์จิตรกรรมและรวมกลุ่มกับศิลปินลัทธิโฟวิสม์
·
ในวงการศิลปะร่วมสมัย
บราคเป็นศิลปินสำคัญของลัทธิคิวบิสม์เท่าเทียมกับปิคัสโซ
·
สิ้นชีวิตเมื่อปี
ค.ศ.1963 รวมอายุได้ 81 ปี
·
ผลงานชิ้นสำคัญของยอร์จ
บราค มี อาที “บ้านที่เลสตัค”
อยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์น “โต๊ะนักดนตรี” “แท่นสีดำ” อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่กรุงปารีส รูปปั้น “หัวม้า”
อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ กรุงปารีส ฯลฯ
·
โรเบิร์ต
เดอ โลเนย์
หอไอเฟล
ศิลปะลัทธินามธรรม Abstractionism
Art
·
ให้ความสำคัญเรื่องรูปแบบศิลปะหรือปรากฏการณ์
อันเกิดจากการผสานรวมตัวกันของทัศนธาตุ ( เส้น สี แสงเงา รูปร่าง ลักษณะผิว )
·
ไม่คำนึงถึงเนื้อหาศิลปะ
ศิลปะนามธรรม
จำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่
คือ
1.ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก
2.ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิค
1.ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก สร้างงานที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างเสรี
โดยส่งผ่านลักษณะรูปแบบศิลปะที่อิสระ
·
ศิลปินอาจมีพื้นฐานทางอารมณ์มาจากความรัก
ความเศร้า ความห้าวหาญ ฯลฯ แล้วแสดงออกอย่างทันที
2.ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิก
·
สร้างงานที่ผ่านการคิดไตร่ตรองการวางแผนอย่างมีระบบมีกฎเกณฑ์
·
โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตควบคุม ศิลปินกลุ่มนี้มีมงเดรียน(Mondrian) เป็นผู้นำ
·
ให้อิทธิพลต่อ
Abstract แบบขอบคม (Op
Art) ในอเมริกา
The composition, Kandinsky,
1939 ผลงานของสีน้ำมัน,
ของโอลกา โรซาโนวา, ๑๙๑๗
แจคสัน พอลลอค (Jackson
Pollock)
·
จิตรกรลัทธินามธรรมเอ็กเพรสชันนิสม์
ที่มีชื่อเสียงและโดดเด่น
·
ได้รับฉายาว่า เป็นจิตรกรแบบ
Action Painting
·
สร้างงานจิตรกรรมโดยการสาด
สลัด ราดหรือแม้แต่การเหวี่ยงลงบนพื้นเฟรมด้วยลีล่าท่าทางที่ว่องไว เพื่อบันทึกความรู้สึกของศิลปินเอาไว้ในผืนเฟรม
ด้วยสีสัน
ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ (Futurism Art)
ศิลปินอิตาลีกลุ่มหนึ่ง
มีความเห็นขัดแย้งกับแนวทางศิลปะเชิงขนบนิยมในประเทศของตนอย่างรุนแรง เริ่มต้นเคลื่อนไหวในปี
ค.ศ.1909
คำประกาศที่รุนแรงทางศิลปะ
Burn the Museum
Drain the Canal of Vanice
Let’s Kill the Moonlight
ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ ได้ชื่อจากความเชื่อทางศิลปะของศิลปินและแนวทางการสร้างงาน
คือ
·
มุ่งแสดงความรู้ เคลื่อนไหว จากบริบทของสังคมยุคเครื่องจักรกล
ที่แพร่ในยุโรป
·
ต้องการแสดงออกถึงลักษณะของสังคมยุคใหม่
·
เห็นความงามของเครื่องจักรกลที่รวดเร็วและมีพลัง
ศิลปะฟิวเจอริสม์จึงเป็นการสร้างผลงานแสดงชีวิตความเป็นอยู่ในปัจุบันที่ไม่หยุดนิ่ง
อันเป็นผลจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ศิลปินมักจะใช้เนื้อหาของงานที่เกี่ยวความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน
บุคคล สัตว์ หรือวัตถุที่มีการเคลื่อนไหว เช่น วงล้อรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และแสงสี
ศิลปินลัทธิฟิวเจอริสม์
ศิลปินเกือบทั้งหมดเป็นชาวอิตาลี
อาทิ บอคโซนี (Boczoni)/ บาลลา (Balla)/คาร์รา(Carra)/ เซเวอรินี (Severini)/รุสโซโล (Russolo)
ศิลปินฟิวเจอริสม์สำคัญ
คือ บอคโซนีและบาลลา
บอคโซนี (Boccioni)
เป็นจิตรกรและประติมากร
เกิดที่เมืองเรคจิโอ แคว้นคาลาเบรีย อิตาลี
ศึกษาศิลปะที่กรุงโรม อายุ 17
ปี เดินทางแสวงหาความรู้และประสบการณ์หลายประเทศ ทำให้รู้จักกวีและนักวิจารณ์ศิลปะหลายคน
นักวิจารณ์ศิลปะชื่อมาริเนตตี(Marineti)
เป็นกระบอกเสียงให้กับลัทธิฟิวเจอริสม์
และได้สัมผัสกับผลงานคิวบิสม์ของปิคัสโซและบราคด้วย
ประสบการณ์ต่าง ๆ
เป็นปัจจัยทางปัญญาและความคิด ทำให้บอคโซนีใช้ในการพัฒนาการงานรูปแบบฟิวเจอริสม์
ภาพ “เมืองเติบโต” เป็นภาพม้าที่วิ่งเต็มเมือง
ผู้คนที่วุ่นวายสับสนท่ามกลางความเร็วและความแออัดยัดเยียด
เป็นภาพที่มีความเคลื่อนไหวสั่นพร่าอยู่เบื้องหน้าอาคารสมัยใหม่
จิอาโคโม บอลลา (Chiacomo
Balla)
จิตรกรชาวอิตาเลียนคนสำคัญ
เกิดเมื่อปี ค.ศ1871 และเสียชีวิตในกรุงโรม
ค.ศ.1958
·
มีคุณูปการต่อศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์มาก
·
มีบทบาทสร้างสรรค์งานแบบฟิวเจอริสม์มากและยาวนานที่สุด
ตั้งแต่ ค.ศ.1920
·
เป็นครูของ
บอคโซนีและเซเวรินี ในช่วงปี ค.ศ.1900
Duchamp, Nude descending staire case, number 2
Chiacomo Balla, Dynamism of a Dog on a Leash”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น